เช็คให้ชัด ‘9 อาชีพ’ รับเงินเยียวยา ผ่าน ‘ประกันสังคม’ มาตรา 33, 39, 40 คือใครบ้าง ?

สรุป “9 อาชีพ” ที่จะได้รับ “เงินเยียวยา” ผ่าน “ประกันสังคม” มาตรา 33 39 และ 40 กรณีได้รับผลกระทบจากการ “ล็อกดาวน์” ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ใครได้บ้าง

หลังจากที่ ครม. มีมติ “จ่ายเงินเยียวยา” ผู้ได้รับผลกระทบจากการ “ล็อกดาวน์” ครั้งล่าสุด ผ่าน “ประกันสังคม” มาตรา 33 39 และ 40 โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด และประกอบอาชีพใน 9 กลุ่มอาชีพที่รัฐกำหนด

ด้วยเงื่อนไขหลายอย่าง ทำให้หลายคนยังสับสนว่าตนเองจะได้รับสิทธิ์ “เยียวยาล็อกดาวน์” ครั้งนี้หรือไม่ “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” จึงสรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเงื่อนไข 9 อาชีพที่จะได้รับ “เงินเยียวยา” ในครั้งนี้ ดังต่อไปนี้

  •  9 กลุ่มอาชีพที่จะได้ “เงินเยียวยา” ล็อกดาวน์ 

1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

โรงแรม, รีสอร์ท, เกสต์เฮ้าส์, ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท, การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร, การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด, การบริการด้านการจัดเลี้ยง, การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน

2. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพกับจังหวัดอื่นและระหว่างจังหวัด,  การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง/จักรยานยนต์รับจ้าง, การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถนน, การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน

3. การขายส่งและการขายปลีกการซ่อมยานยนต์

ห้างสรรพสินค้า, ซุปเปอร์เซ็นเตอร์, การขายปลีกสินค้าทั่วไป

4. กิจกรรมการบริหารและการสนับสนุน

ธุรกิจจัดนำเที่ยว, กิจกรรมของมัคคุเทศก์, กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย, การบริการทำความสะอาด, การจัดการประชุมและการจัดแสดงสินค้า (event)

5. กิจกรรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ

กิจกรรมของบริษัทโฆษณา, กิจกรรมออกแบบและตกแต่งภายใน, การตรวจสอบบัญชี, การให้คำปรึกษาด้านภาษี

6. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์, กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์, กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์

7. การก่อสร้าง

การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย, การก่อสร้างถนน, สะพานและอุโมงค์, การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ำ

8. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ 

กิจกรรมสปา, กิจกรรมการแต่งผม, กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า, กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

9. ศิลปะความบันเทิงและสันทนาการ

การดำเนินงานของสถานที่ออกกำลังกาย, กิจกรรมด้านสโมสรกีฬา, กิจกรรมด้านสวนสนุกและธีมปาร์ค, กิจกรรมการแสดงโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ

  •  เงื่อนไขอื่นๆ 

นอกจากจะต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพใน 9 กลุ่มที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ผู้ที่ได้รับเงินเยียวยาจะต้องอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด และได้รับผลกระทบจากการ “ล็อกดาวน์” ด้วย

ที่สำคัญจะต้องเป็น “ผู้ประกันตน” ใน “ประกันสังคม” มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ด้วย (กรณีเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ไม่ได้อยู่ในประกันสังคมมาตราใดเลย ต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนในประกันสังคมมาตรา 40 ภายใน ก.ค. 64 จึงจะได้รับเงินเยียวยา)

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนในประกันสังคมมาตราต่างๆ จะได้รับเงินเยียวยาแตกต่างกันออกไป ดังนี้

– กลุ่มประกันสังคมมาตรา 33 

ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตาม ม.33 ได้รับการช่วยเหลือ 2,500 บาท ต่อคน และลูกจ้างที่ได้รับชดเชยจะได้รับเงินเดือน 50% ของค่าจ้าง (ไม่เกิน 7,500บาท) รวมไม่เกินคนละ 10,000 บาท

สำหรับผู้ประกอบการ จะได้รับรายละ 3,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน จำกัด ไม่เกิน 200 คน

– กลุ่มประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 

สำหรับผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ได้รับความช่วยเหลือ 5,000 บาท 

– กลุ่มอาชีพอิสระ 

เตรียมหลักฐานยื่นลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เพื่อรับเงินช่วยเหลือ ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับความช่วยเหลือ 5,000 บาท

สามารถดูรายละเอียดการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ที่ >> เปิดขั้นตอน ‘ฟรีแลนซ์-อาชีพอิสระ’ สมัครประกันสังคม มาตรา 40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

ที่มา : มติ ครม. 13 ก.ค. 64 / https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/948848

Previous โควิด 19 ทำหนี้ครัวเรือนของประเทศต่าง ๆ ปรับสูงขึ้น

Leave Your Comment

พันธมิตรหอการค้าจังหวัดสงขลา

หอการค้าจังหวัดสงขลา

หอการค้าจังหวัดสงขลา

The Songkhla Chamber of Commerce

สำนักงาน

29 ถ.โชติวิทยะกุล4 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 17.00 น.

© 2021 The Songkhla Chamber of Commerce. ALL RIGHTS RESERVED.